การแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่ประเทศอินโดนีเซีย ที่กำลังจะแข่งขันกันอยู่ในเวลานี้และไปสิ้นสุดวันที่ 2 กันยายน ในส่วนของพิธีเปิดอย่างเป็นทางการจะวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม โดยมีนักกีฬาจาก 45 ประเทศเข้าร่วม ราว 1 หมื่นคน ซึ่งจะนับเป็นจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่มีการจัดการแข่งขันมา
ในจำนวนนี้เป็นนักกีฬาจากไทยกว่า 800 คน โดยทัพนักกีฬาไทยต่างก็พร้อมที่จะฝ่าฟันกับชาติอื่น ๆ ในทวีปเอเชียเพื่อชิงชัยนำเหรียญทองมาให้แฟน ๆ ชาวไทยได้ภาคภูมิใจกันอย่างเต็มเปี่ยม ส่วนจะได้กลับมามากน้อยแค่ไหนนั้น เราคงต้องเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเชียร์ให้เหล่านักกีฬาได้มีแรงใจในการแข่งขันด้วย
นอกจากการแข่งขันครั้งนี้ที่ จาการ์ตา-ปาเล็มบัง จะถือเป็นครั้งแรกที่มีเมืองเจ้าภาพถึง 2 แห่ง ทั้งนี้ยังมีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับกับ เอเชียนเกมส์ อีกหลายอย่างให้เพื่อน ๆ ได้ทราบกันก่อนที่มหกรรมกีฬานี้จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการอีกในไม่กี่วัน
– มาในธีมไหน ?
มาทำความรู้จักกับความหมายของโลโก้การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2018 กันสักหน่อย ซึ่งครั้งนี้จะถูกจัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตาและเมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย
สำหรับโลโก้การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 18 นั้น ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงสร้างสนามกีฬาเกลอรา บังการ์โน เมนสเตเดียม พร้อม 8 เส้นทางที่นำไปสู่สนามกีฬาดังกล่าว และสัญลักษณ์ดวงอาทิตย์ของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียตรงกึ่งกลาง ซึ่งสะท้อนถึงธีม พลังแห่งเอเชีย (Energy of Asia)
ดีไซน์ของโลโก้บ่งบอกว่า พลังแห่งเอเชียจะแผ่รัศมีกระจายไปทั่วทุกมุมโลก โค้งหลากสียังสื่อภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งของธรรมชาติวัฒนธรรมหลายชาติและประเทศอินโดนีเซีย
ส่วนโทนสีสันบนโลโก้ จาการ์ตา ปาเล็มบัง 2018 หรือเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 18 ล้วนสื่อความหมายทั้งสิ้น ได้แก่
– สีแดง คือ จิตวิญญาณ, พลัง, ความกล้าหาญ
– สีฟ้าสมุทร คือ ความเป็นมืออาชีพ, ความมั่นใจตัวเอง
– สีเขียวเข้ม คือ ความสุขุม, ความสดใส, ความสมดุล
– สีสัม คือ ความอบอุ่น, ความหลงใหล
– สีเหลือง คือ มิตรภาพ, แรงบันดาลใจ
– มาสคอตปีนี้เป็นตัวอะไร ?
แน่นอนว่าสีสันการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ สปอร์ตไลท์ย่อมถูกฉายไปที่มาสคอต หรือสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน โดยมาสคอตเอเชียนเกมส์ 2018 ได้ถูกเปิดเผยครั้งแรกในวันที่ 9 ก.ย. 2558 ระหว่างการเฉลิมฉลองวันกีฬาแห่งชาติ สัญลักษณ์แบบแรก ภายใต้ชื่อ ดราวา มีลักษณะคล้ายกับ นกปักษาสวรรค์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบได้ยากในประเทศอินโดนีเซีย โดยถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ยังหนีไม่พ้นนกเหยี่ยวเหมือนซีเกมส์ 2011 และราวกับว่าหลุดมาจากโลโก้ซีเกมส์ในยุค 90 ต้นๆมากกว่า
ต่อมาในเดือนมกราคม 2559 คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ยกเลิกสัญลักษณ์แบบแรกไป หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในเรื่องความทันสมัย และลักษณะของสัญลักษณ์
ซึ่งคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้เปิดการแข่งขันเพื่อออกแบบสัญลักษณ์ใหม่ ภายใต้คำขวัญ “Energy of Asia” และได้ประกาศรางวัลชนะเลิศเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2559 โดยสัญลักษณ์แบบใหม่ได้แรงบันดาลใจจาก หลังคาของสนามกีฬาเกลอรา บังการ์โน
ส่วนสัญลักษณ์นำโชคใหม่ได้แรงบันดาลใจจากสัตว์ที่หาพบได้ในประเทศอินโดนีเซีย อาทิ
นกปักษาสวรรค์ (“Bhin Bhin”), กวางบาวีน (“Atung”) และแรดชวา (“Kala”)
มาสคอตครั้งนี้ ที่มีถึง 3 ตัวด้วยกัน ต้องการสื่อถึงความปึกแผ่นบนความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ วัฒนธรรม และภาษา ซึ่งสื่อทั้งในประเทศอินโดนีเซียเองและในทวีปเอเชีย และสัตว์ทั้ง 3 ตัวล้วนเป็นสัตว์ท้องถิ่นในประเทศนี้อีกด้วย
– Bhin Bhin บินบิน คือนักปักษาสวรรค์ หรือนกการเวกตัวสีเหลืองซึ่งเป็นนกท้องถิ่นของประเทศนี้ สื่อถึงความมีไหวพริบ สวมใส่เสื้อกั๊กลายผ้าแบบอาสมัตจากปาปัวตะวันออก สำหรับ Bhin Bhin แสดงถึงยุทธศาสตร์
– Atung อาตุง คือกวางพันธุ์บาวีนอยู่ภาคกลางของประเทศ สวมใส่โสร่งลายผ้าบาติกจากจาการ์ตา Atung แสดงถึงความเร็ว ไม่ยอมหยุดสู้ ตามความเชื่อของท้องถิ่น
– Kaka กากา หรือ อิกา คือแรดท้องถิ่นสีเทาตัวใหญ่ทางภาคตะวันตกของประเทศ สวมใส่เครื่องแต่งกายแบบวัฒนธรรมปาเล็มบัง ที่มีลวดลายดอกไม้ สวมผ้าพันคอซองเกท ของขึ้นชื่อในเมืองปาเลมบัง เมืองเจ้าภาพร่วมในเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ สำหรับ Kaka แสดงถึงความแข็งแรง
– ประเทศใดเข้าร่วมการแข่งขันบ้าง ?
สมาชิกทั้งหมด 45 ประเทศ ของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียจะเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ โดยได้มีการตกลงกันว่าประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้จะเข้าร่วมแข่งขันในนามของทีมรวมเฉพาะกิจในบางชนิดกีฬา เช่นเดียวกับในโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 (ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงจำนวนนักกีฬา)
อัฟกานิสถาน (65), บาห์เรน (107), บังกลาเทศ (123), ภูฏาน (24), บรูไน (15), กัมพูชา (45), จีน (871), ฮ่องกง (571), อินเดีย (690), อินโดนีเซีย (939) (เจ้าภาพ), อิหร่าน (376), อิรัก (56), ญี่ปุ่น (772), จอร์แดน (53), คาซัคสถาน (435), เกาหลี เกาหลีเหนือ (168), เกาหลีใต้ (800), นักกีฬาเอเชียเฉพาะบุคคล (18), คีร์กีซสถาน (204), ลาว (142), เลบานอน (29), มาเก๊า (107), มาเลเซีย (427), มัลดีฟส์ (151), มองโกเลีย (306), พม่า (140), เนปาล (186), โอมาน (66), ปากีสถาน (298), ปาเลสไตน์ (83), ฟิลิปปินส์ (291), กาตาร์ (219), ซาอุดีอาระเบีย (166), สิงคโปร์ (269), ศรีลังกา (197), ซีเรีย (71), จีนไทเป (588), ทาจิกิสถาน (106), ไทย (816), ติมอร์-เลสเต (64), เติร์กเมนิสถาน (72), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (149), อุซเบกิสถาน (321), เวียดนาม (354), เยเมน (32)
– แข่งกีฬาอะไรกันบ้าง ?
จะมีการแข่งขันกีฬา 40 ชนิด รวม 53 ประเภท โดยจะแข่งขันชิงชัยเหรียญทั้งหมดจำนวน 426 เหรียญทอง ตามกีฬาและประเภทดังต่อไปนี้
1. กีฬาทางน้ำ 47 เหรียญทอง (ประกอบด้วย ว่ายน้ำ 32 เหรียญ, กระโดดน้ำ 10 เหรียญ, ระบำใต้น้ำ 3 เหรียญ และโปโลน้ำ 2 เหรียญ),
2. ยิงธนู 4 เหรียญทอง,
3. กรีฑา 46 เหรียญทอง,
4. แบดมินตัน 7 เหรียญทอง,
5. เบสบอล/ซอฟต์บอล 2 เหรียญทอง,
6. บาสเกตบอล 4 เหรียญทอง (ประกอบด้วย บาสเกตบอล 3 คน 2 เหรียญ, บาสเกตบอล 5 คน 2 เหรียญ),
7. โบว์ลิ่ง 6 เหรียญทอง,
8. มวยสากล 12 เหรียญทอง,
9. บริดจ์ 6 เหรียญทอง,
10. เรือแคนู-คยัค 16 เหรียญทอง
11. จักรยาน 16 เหรียญทอง (ประกอบด้วย ประเภทลู่ 7 เหรียญ, ประเภทถนน 4 เหรียญ เสือภูเขา 3 เหรียญ และบีเอ็มเอ็กซ์ 2 เหรียญ),
12. ขี่ม้า 6 เหรียญทอง,
13. ฟันดาบ 10 เหรียญทอง,
14. ฟุตบอล 2 เหรียญทอง,
15. กอล์ฟ 2 เหรียญทอง,
16. ยิมนาสติก 18 เหรียญทอง (ประกอบด้วย ยิมนาสติกศิลป์ 14 เหรียญ ยิมนาสติกลีลา 2 เหรียญ และแทรมโปลีน 2 เหรียญ),
17. แฮนด์บอล 2 เหรียญทอง,
18. ฮ็อกกี้ 2 เหรียญทอง,
19. เจ็ตสกี 3 เหรียญทอง,
20. ยูโด 14 เหรียญทอง
21. กาบัดดี้ 2 เหรียญทอง,
22. คาราเต้-โด 13 เหรียญทอง,
23. มาร์เชียล อาร์ตส์ 36 เหรียญทอง (ประกอบด้วย ยูยิตสู 8 เหรียญ ปันจักสีลัต 16 เหรียญ และวูชู 12 เหรียญ),
24. ปัญจกีฬาสมัยใหม่ 4 เหรียญทอง,
25. พาราไกลดิ้ง 6 เหรียญทอง,
26. เรือพาย 15 เหรียญทอง,
27. รักบี้ 7 คน 2 เหรียญทอง,
28. เรือใบ 10 เหรียญทอง,
29. เซปักตะกร้อ 6 เหรียญทอง,
30. ยิงปืน 18 เหรียญทอง
31. ปีนหน้าผา 8 เหรียญทอง,
32. สควอช 4 เหรียญทอง,
33. เทเบิลเทนนิส 4 เหรียญทอง,
34. เทควันโด 16 เหรียญทอง,
35. เทนนิส 10 เหรียญทอง (ประกอบด้วย เทนนิส 5 เหรียญ ซอฟต์เทนนิส 5 เหรียญ),
36. ไตรกีฬา 3 เหรียญทอง,
37. วอลเลย์บอล 4 เหรียญทอง (ประกอบด้วย วอลเลย์บอลในร่ม 2 เหรียญ วอลเลย์บอลชายหาด 2 เหรียญ),
38. ยกน้ำหนัก 16 เหรียญทอง
39. โรลเลอร์สปอร์ต 2 เหรียญทอง
40. มวยปล้ำ 18 เหรียญทอง
และกีฬาอีกสองประเภทที่ถูกเพิ่มเข้ามาในฐานะกีฬาสาธิต ได้แก่ อีสปอร์ต และ เรือแคนูโปโล (ไม่มีการมอบเหรียญรางวัล)
– อีสปอร์ตมาได้ยังไง ?
นอกจากนักกีฬาหลากหลายชนิดแล้ว ยังมีเกมเมอร์ยอดฝีมือจากหลายชาติเข้าร่วมการแข่งขันในฐานะนักกีฬาอีสปอร์ตเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นผลจากการร่วมมือกับ Alisports ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง อาลีบาบา
เกมที่ใช้แข่งขันในครั้งนี้มีทั้งหมด 6 เกม ประกอบด้วย League of Legend หรือ LoL, Arena of Valor หรือ RoV, StarCraft II, Hearthstone, Pro Evorution Soccer 2018 และ Clash Royale
โดยทีมชาติไทยของเราได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันอีสปอร์ต 3 เกมด้วยกันได้แก่ Arena of Valor หรือ RoV, StarCraft II และ Hearthstone
อย่างไรก็ตาม ผู้ชนะการแข่งขันในปีนี้จะไม่ได้รับเหรียญรางวัลแต่อย่างใด เพราะยังถือเป็นการแข่งขันแบบสาธิต เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการบรรจุเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการในเอเชียนเกมส์ครั้งถัดไปที่เมืองหางโจว ของจีน ในปี 2022 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (โอซีเอ) แล้ว
นอกจากอีสปอร์ตแล้ว เอเชียนเกมส์ครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่มีการบรรจุกีฬาบาสเก็ตบอลชนิดทีมละ 3 คน และจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์แบบฟรีสไตล์ อีกด้วย
– เป้าหมายของของ ไทย ในเอเชียนเกมส์ 2018 ?
20 เหรียญทอง คือ เป้าหมายที่ไทยตั้งความหวังเอาไว้ โดยกีฬาที่เป็นความหวังสูงสุดของคนไทยนั่นคือ เซปักตระกร้อ ที่ไทยหวังคว้า 4 เหรียญทอง ตามมาด้วย มวย 2 เหรียญทอง, กอล์ฟ 2 เหรียญทอง, เทควันโด 2 เหรียญทอง, ยกน้ำหนัก, 2 เหรียญทอง, ยิงปืน (เป้าบิน) 1 เหรียญทอง, เรือใบ 1 เหรียญทอง, เรือพาย 1 เหรียญทอง, ปั่นจักรยานสีลัต 1 เหรียญทอง, ยูยิตสู 1 เหรียญทอง, กีฬาทางอากาศ 1 เหรียญทอง, บริดจ์ 1 เหรียญทอง, เจ็ตสกี 1 เหรียญทอง
โดยหากทัพนักกีฬาทีมชาติไทย สามารถเก็บได้ตามเป้าที่คาดไว้ ก็น่าจะทำให้พวกเขามีผลงานที่ดีกว่า อินชอนเกมส์ 2014 (เอเชียนเกมส์ครั้งก่อน) ที่สามารถคว้าเหรียญไปได้ทั้งหมด 12 เหรียญทอง 7 เหรียญเงิน และ 28 เหรียญทองแดง จบด้วยอันดับ 6 เป็นรองแค่ จีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, คาซัคสถาน และ อิหร่าน
ทายว่า ทัพนักกีฬาไทย จะได้เหรียญทองมากกว่า 15 เหรียญ วางเดิมพัน 100 บาท กำไร 95 บาท”
กดที่ลิงก์ > http://bit.ly/Thai-ASG
ซึ่งเจ้าเหรียญทอง ขาประจำในศึก เอเชียนเกมส์ ก็เป็นทางด้าน จีนแผ่นดินใหญ่ ที่ยังไม่มีใครสามารถล้มพวกเขาได้เลย นับตั้งแต่ เอเชียนเกมส์ 1982 ที่จัดขึ้นยังกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย แถมยังเป็นเจ้าเหรียญทองแบบ 9 สมัยติดด้วย โดยก่อนหน้าที่ ทัพแดนมังกร จะขึ้นมานั่งแท่นบัลลังก์เหรียญทอง ก็เป็น ญี่ปุ่น ที่สามารถกวาดเหรียญทองได้มากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมาการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ ต่อเนื่องยาวนานถึง 8 สมัย ก่อนจะเป็น จีนที่โค่นและครองมาได้ตลอดจนปัจจุบันนั่นเอง
ชัวร์วินกินเต็ม จีนเจ้าเหรียญทองเอเชียนเกม-2018 ชัวร์ 108% กินเต็ม 800 บาท* *เมื่อวางเดิมพัน 10,000 บาท