กีฬาฟุตบอล

แมนฯ ซิตี้ โดนคดีใหญ่ ในข้อหาละเมิดกฎการเงิน

WP cover template 1 - แมนฯ ซิตี้ โดนคดีใหญ่ ในข้อหาละเมิดกฎการเงิน

กลายเป็นข่าวใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา หลังจาก พรีเมียร์ลีก ตั้งข้อหา แมนเชสเตอร์ ซิตี้ โทษฐานละเมิดกฎการเงินมากกว่า 100 ครั้ง ระหว่างปี 2009-2018 หลังสอบสวนมาตลอด 4 ปี

188BET ทางเข้า (ล่าสุด)

image - แมนฯ ซิตี้ โดนคดีใหญ่ ในข้อหาละเมิดกฎการเงิน

พรีเมียร์ลีกได้ระบุว่า “เรือใบสีฟ้า” ได้ทำการละเมิดกฎการเงิน หรือ ไฟแนนเชี่ยล แฟร์ เพลย์ มากกว่า 100 ครั้ง ระหว่างเดือนกันยายนปี 2009 ถึงช่วงจบฤดูกาล 2017-2018 ในช่วงที่ ชีค มานซูร์ เข้ามาอัดฉีดเงินทุนเพื่อยกระดับทีม อีกทั้งไม่ให้ความร่วมมือในการสอบสวน ระหว่างปี 2018-23 พร้อมทั้งปกปิดแหล่งรายได้ที่แท้จริง

และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ โดนตั้งข้อกล่าว หากย้อนกลับไปในเดือน ก.พ. 2020 สหพันธ์ฟุตบอลยุโรปหรือว่ายูฟ่า ไต่สวนการละเมิด “งบการเงิน” Financial Fair Play (FFP) กรณีตกแต่งบัญชีเพื่อให้ตัวเลขอยู่ในส่วนที่ยูฟ่า กำหนด โดยไม่ได้เป็นการทำธุรกิจจริง แต่เป็นเงินเจ้าของทีมผ่านผู้สนับสนุนที่เจ้าของทีมเป็น “เจ้าของ” มาใช้จ่าย หาได้เกิดจากผลประกอบการที่แท้จริงแต่ละซีซั่น

หลักฐานครั้งนั้นมัดตัวทีม “เรือใบสีฟ้า” หนาแน่น เพียงแต่ว่า มันเป็นหลักฐานที่ถูกแฮกเก้อร์ มาจากนักแฮ้กชาวโปรตุกีสนาม รุย ปินโต ซึ่งในทางกฏหมายมันเป็นโมฆะ เพราะหลักฐานมาจากการขโมยข้อมูล ซึ่งการอุทธรณ์ศาลกีฬาโลก CAS ครั้งนั้น ผลออกมาให้ แมนฯซิตี้ พ้นผิด

แต่ในประเด็นข่าวล่าสุดจากการสืบสวนข้อมูลของพรีเมียร์ลีกของคณะกรรมการอิสระพรีเมียร์ลีก
(The Independent comission) สืบสวนค้นหาหลักฐานข้อมูลระหว่างปี 2009-2022 โดยเริ่มต้นสอบสวนเมื่อ ธันวาคม ปี 2018 จนถึงปี 2022 ก่อนพบว่า แมนฯ ซิตี้ ฝ่าฝืนงบการเงิน 2009-2018 และไม่ให้ความร่วมมือในการยื่นเอกสารจากปี 2018-2022 โดยมีประเด็นรายละเอียด ดังนี้

1. ทีมแมนฯซิตี้ บ่ายเบี่ยงและปฏิเสธการให้ข้อมูลคณะกรรมการในเรื่อง “งบการเงิน”, รายรับ,เงินรายได้จากผู้สนับสนุนทีม, ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการทีม ในบางฤดูกาล

2 ผู้สนับสนุน “ปลอม” หรือ fake sponsorship ที่หมายถึงรายได้จากผู้สนับสนุนทีมมาจาก “เงิน” เจ้าของทีมผ่านบริษัทที่ “เจ้าของ” คือชีค มานซูร์ เป็นเจ้าของ

3. ปกปิดเรื่องเงินตอบแทน, ค่าสวัสดิการทั้งหมด (remuneration) ของ โรแบร์โต มานชินี ระหว่างซีซั่น 2009-10 ถึง 2012-13 และเงินตอบแทน รวมทั้งสวัสดิการต่างๆของนักเตะซีซั่น สองฤดูกาล 2010-11 และ 2015-16

4 ฝ่าฝืนและละเมิดงบการเงินยูฟ่า

5 ละเมิดงบการเงินพรีเมียร์ลีกเรื่อง “ผลกำไร”

image 1 - แมนฯ ซิตี้ โดนคดีใหญ่ ในข้อหาละเมิดกฎการเงิน

จากการสืบสวนตลอดสี่ปี (2018-2022) ทางคณะกรรมการอิสระของพรีเมียร์ลีกจะโฟกัสไปที่ 2 เรื่องหลัก ที่มีการละเมิด งบการเงินพรีเมียร์ลีก 115 ครั้ง

1. ผู้สนับสนุน “ปลอม”
ในปี 2011 เอติฮัด แอร์เวย์ส เซ็นสัญญา 10 ปี กับทีมเรือใบสีฟ้า ด้วยจำนวนเงิน 400 ล้านปอนด์ (เฉลี่ยปีละ 40 ล้านปอนด์) นอกจากเอติฮัด แอร์เวย์สแล้ว แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ยังมีผู้สนับสนุนใหม่ๆ มากมาย เช่น บริษัท Aabar Investment หรือ Arabtech แต่ก็ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทในประเทศยูเออีทั้งสิ้น

2. ค่าสวัสดิการและเงินตอบแทนของ โรแบร์โต้ มันชินี ตั้งแต่ปี 2009-2013
แมนเชสเตอร์ ซิตี้ จ่ายเงินค่าจ้างให้ โรแบร์โต้ มันชินี่ ผู้จัดการทีมในช่วงปี 2009-2013 ด้วยตัวเลขปีละ 1.45 ล้านปอนด์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยมาก (สัปดาห์ละ 27,884 ปอนด์) ที่ต้องจ้างราคาแค่นี้ เพราะถ้าจ่ายแพงกว่านี้ จะทะลุเพดาน FFP

แต่มีหลักฐานระบุว่า กลุ่มทุน ADUG จ่ายเงินให้สำนักข่าวอัลจาซีร่าปีละ 1.75 ล้านปอนด์ แล้วสำนักข่าวอัลจาซีร่า จ่ายต่อให้บริษัทชื่อ IIS (Italy International Services) ที่มี มันชินี่ เป็นเจ้าของ โดยจ่ายเงินให้ในฐานะที่ปรึกษาข่าวสาร
การจ่ายเงิน 2 ทางแบบนี้ เพื่อให้มันชินี่ได้รับเงินเต็มจำนวน (1.45 + 1.75) แต่ก็สามารถหลีกเลี่ยงกฎ FFP ไปพร้อมกันด้วย

Picture111111 - แมนฯ ซิตี้ โดนคดีใหญ่ ในข้อหาละเมิดกฎการเงิน

หลังจากสืบสวนนาน 4 ปี ทีมกฏหมายของพรีเมียร์ลีก และสำนักงานกฏหมาย Bird and Bird จึงส่งเรื่องให้บอร์ดบริหารพรีเมียร์ลีก ดำเนินการตั้งข้อกล่าวหา

ทั้งนี้ คณะกรรมการอิสระพรีเมียร์ลีกนำโดย เมอร์เรย์ โรเซน เคซี (เป็นสมาชิกทีมอาร์เซนอลด้วย) ซึ่งจะแต่งตั้งคณะกรรมร่วมกันพิจารณาไต่สวนคดีของแมนเชสเตอร์ ซิตี้ 3 คน

โดยตามกฏพรีเมียร์ลีกข้อ W.82 การพิจารณาความครั้งนี้ต้องเป็นความลับไม่เปิดเผยต่อสาธารณะชน และตามกฏพรีเมียร์ลีกแล้ว แมนฯซิตี้ จะไม่มีการยื่นเรื่องอุทธรณ์ต่อศาลกีฬาโลก CAS แต่สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอิสระทั้งสามท่านได้

หากสุดท้ายแล้วคณะกรรมการอิสระตัดสินออกมาว่า แมนฯซิตี้ ทำผิดจริงตามที่ พรีเมียร์ลีก ระบุ แมนฯ ซิตี้ ก็มีสิทธิ์ได้รับโทษไม่ว่าจะหนักหรือเบาตามแต่ที่จะมีการพิจารณา

image 3 - แมนฯ ซิตี้ โดนคดีใหญ่ ในข้อหาละเมิดกฎการเงิน

4 บทลงโทษที่ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ อาจโดนหากถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงฐานละเมิดกฎการเงิน

1. ปรับเงิน
เป็นบทลงโทษที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มากที่สุดนั่นคือ การปรับเงินนั่นเอง โดย กฏข้อ W.51.9 ระบุไว้ว่าคณะกรรมการสามารถ “สั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาจ่ายค่าปรับจำนวนหนึ่งได้หากพวกเขาคิดว่าเหมาะสมซึ่งอาจรวมถึงค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายของสมาชิกคณะกรรมการด้วย” เพราะฉะนั้น ซิตี้ จึงมีโอกาสได้รับโทษปรับเงินหากสุดท้ายแล้วมีการพิสูจน์ได้ว่าพวกเขากระทำผิดจริง

2. ตัดแต้ม
เป็นบทลงโทษที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดเช่นกัน หาก แมนฯซิตี้ มีความผิดจริง แม้ว่าจำนวนแต้มที่จะถูกหักอาจยังไม่มีใครรู้ได้ แต่ไม่ว่า ‘เรือใบสีฟ้า’ จะถูกหักกี่แต้ม เรื่องนี้จะส่งผลกระทบต่ออันดับตารางใน พรีเมียร์ลีก ของพวกเขาอย่างแน่นอน

3. ปรับตกชั้นจากพรีเมียร์ลีก
หนึ่งในโทษสถานหนักคือการขับพ้นจากลีก ทว่าถึงพรีเมียร์ลีก มีอำนาจในการทำแบบนั้น แต่มันก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นจริง หรือหากว่ามันเกิดขึ้นก็ไม่ชัดเจนอยู่ดีว่าแชมป์พรีเมียร์ลีก จะต้องหล่นไปเล่นระดับไหน แต่นั่นจะก่อให้เกิดความยุ่งยากและกระทบต่อโครงสร้างของลีกที่มีจำนวนสโมสรมากมายอยู่แล้วเช่นกัน
หรือไม่เช่นนั้น พวกเขาก็อาจหล่นไปเล่นนอกลีกใน เนชั่นแนล ลีก เหมือนที่ คิวพีอาร์ เคยโดนแจ้งโทษเมื่อปี 2014 หากไม่ยอมจ่ายค่าปรับ 40 ล้านปอนด์สมัยเล่นอยู่ใน แชมเปี้ยนชิพ และละเมิดกฏการใช้จ่าย

4. ริบแชมป์
แม้ว่ากฏข้อ W51 จะไม่ได้รวมการริบแชมป์เอาไว้ด้วยสำหรับบทลงโทษ แต่มันยังเปิดช่องให้มีบทลงโทษที่หลากหลายตามมาจากการละเมิดกฏกติกา เพราะกฏข้อ W.51.10 ระบุเอาไว้ว่าคณะกรรมการสามารถ “ลงโทษเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม” ซึ่งรวมทั้งการริบแชมป์จากสโมสรที่ได้แชมป์

โดย แมนฯซิตี้ พิสูจน์ให้เห็นถึงการเป็นทีมชั้นยอดจากการคว้าแชมป์ลีกได้สามสมัยระหว่างปี 2009-2018 ซึ่งพวกเขาถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฏการใช้เงิน และแน่นอนว่ามีความเสี่ยงที่พวกเขาจะได้รับบทลงโทษนี้

หากซิตี้ถูกปลดออกจากตำแหน่งแชมป์พรีเมียร์ลีกทั้ง 2 ฤดูกาลข้างต้น แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดและ ลิเวอร์พูล จะเป็นผู้ชนะในฤดูกาลนั้นๆแทน แต่อันที่จริง ฤดูกาลเหล่านั้นจะไม่มีการรับรองผู้ชนะ หากพรีเมียร์ลีกตัดสินว่า แมนฯ ซิตี้ คว้าแชมป์โดยละเมิดกฎ

image 4 - แมนฯ ซิตี้ โดนคดีใหญ่ ในข้อหาละเมิดกฎการเงิน

อย่างไรก็ตาม ทางสโมสร “แมนซิตี้” ยืนยันพร้อมให้ตรวจสอบ พิจารณา เกี่ยวเนื่องจากข้อกล่าวหาจาก พรีเมียร์ลีก ว่าทำผิดกฎการละเมิดกฎทางการเงิน ซึ่งล่าสุดทีม เรือใบสีฟ้า เตรียมใช้ทนายชุดเดิมอย่าง ลอร์ด เดวิด แพนนิค ทนายความชื่อดัง จากสำนักงานทนายความ แบล็ค สโตน แชมเบอร์ส เข้ามาว่าความให้ ซึ่งแพนนิค เคยช่วยให้ แมนฯซิตี้ ชนะคดีมาแล้ว ในการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลกีฬาโลก หรือ CAS พ้นจากโทษแบนฟุตบอลยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก 2 ปี ให้เหลือเพียงแค่จ่ายค่าปรับเท่านั้น

โดยมีการคาดการณ์ว่า ค่าจ้างของ ลอร์ดแพนนิค ตามรายงานสูงถึง 80,000 ปอนด์ต่อวัน หรือราว ๆ 400,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ ซึ่งใกล้เคียงกับเงินค่าเหนื่อยที่ เควิน เดอบรอยน์ กองกลางประจำทีม ได้รับจาก แมนฯ ซิตี้ เลยทีเดียว

188BET ทางเข้า (ล่าสุด)

Share: