กำเนิดกีฬาเด็ดบทความวอลเลย์บอล

กำเนิดวอลเลย์บอล

111 5 - กำเนิดวอลเลย์บอล

ทางเข้า 188BET (ล่าสุด)

กีฬาวอลเลย์บอล เป็นอีกหนึ่งกีฬาที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานและเป็นที่นิยมอย่างมากในเวลานี้ เราขอนำเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับ ประวัติวอลเลย์บอล กันซะหน่อย ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง (เช่น รู้หรือไม่บอลรู้แรกทำจากอะไร ?, ทำไมต้องให้เดาะแค่ 3 ครั้ง ?)

และที่สำคัญมันเข้ามาสู่ ประเทศไทย บ้านเราได้อย่างไร เพราะ วอลเลย์บอลหญิงไทย ในเวลานี้ก็ถือว่าเป็นเบอร์ต้น ๆ ของทั้งเอเชียและโลกเลยด้วย

ถ้าเพื่อน ๆ อ่านแล้วชอบใจ หรืออยากแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักที่มาที่ไปของ ประวัติวอลเลย์บอล ก็ไม่ว่ากันน้า ว่าแล้วก็ไปลุยกันเลยดีกว่า…

1895 – วิลเลียม จี. มอร์แกน บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล

1895 1 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men’s Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาว ที่สามารถเล่นได้ทั้งกลางแจ้งและในร่ม เพื่อออกกำลังกายคลายหนาวและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

ซึ่งเขาได้เกิดไอเดียขึ้น จากการได้เห็นกีฬาหลาย ๆ ชนิด ซึ่งมาสะดุดอยู่ที่ กีฬาแบดมินตัน จนได้นำเน็ตของแบดมินตันมาปรับและยกขึ้นสูง 6 ฟุต 6 นิ้ว คั่นกลางและแบ่งสนามออกเป็นสองฝั่ง พร้อมกับพยายามหาลูกบอลมาตีข้ามเน็ตไปมา 


1895 – ที่สุดของความฟรีสไตล์ ไม่จำกัดคน/ครั้งในการเดาะบอล

1895 2 1 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

ในส่วนของผู้เล่นนั้นไม่ได้มีการกำหนดอย่างตายตัว เพียงแค่มีการแบ่งเป็นสองฝ่ายเท่า ๆ กัน และสามารถเล่นลูกบอลได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ก่อนจะส่งบอลข้ามไปยังฝั่งของคู่ต่อสู้ ส่วนการเสิร์ฟบอลจากหลังเส้นสนาม จะแบ่งให้แต่ละทีมผลัดกันเสิร์ฟทีมละ 3 ครั้ง โดยไม่จำกัดว่าใครจะเป็นผู้เสิร์ฟ


1895 – อุปกรณ์การเล่นยืมบาสมานะ รู้ยัง?

1895 3 1 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

วิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ได้เลือกนำยางในและยางนอกของลูกบาสเก็ตบอล มาทำเป็นลูกวอลเลย์บอล แต่ทว่ายางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงลองเปลี่ยนเป็นยางนอกของลูกบาสดูบ้าง แต่ยางนอกของลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก


1896 – เมื่อก่อนไม่ได้ชื่อวอลเลย์บอลนะชื่อ “มินตันเนต”

1896 1 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) มีโอกาสได้พบปะกับทางด้าน เจมส์ เนสมิธ (James Naismith) ผู้ที่คิดค้นกีฬาบาสเก็ตบอลขึ้นมา และถูกเชิญชวนให้มานำเสนอกีฬาที่เขาคิดค้นขึ้นในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) โดยที่ประชุมได้ให้ความสนใจเป็นอย่างดี

ซึ่ง นายวิลเลียม จี. มอร์แกน ได้ตั้งชื่อให้กับกีฬานี้ว่า  มินตันเนต (Mintonette) ซึ่งเป็นการดัดแปลงคำมาจากกีฬาที่เขาได้ไอเดียมา ก็คือ แบดมินตัน (Badminton) นั่นเอง

แต่สุดท้ายแล้ว เขาก็ได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในเรื่องของการตั้งชื่อจาก มินตันเนต (Mintonette) ให้เปลี่ยนเป็นชื่อ วอลเลย์บอล (Volleyball) แทน

เนื่องจากว่าลักษณะในการตีลูกบอลที่กำลังลอยอยู่ในอากาศให้ข้ามเน็ตเรียกว่าการ วอลเลย์ เพียงแค่ไม่มีวอลเลย์บอลนั้นไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ ใช้มือเล่นแทนได้เลย


1900 – ลูกวอลเลย์ดีไซน์ใหม่โดยสปอลดิงเจ้าพ่อลูกหนังแห่งตะวันตก

1900 2 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

วิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ทราบว่าทางด้าน  เจมส์ เนสมิธ (James Naismith) ได้ทำการปรึกษากับ อัลเบิร์ต กู๊ดวิล สปอลดิ้ง (Albert Goodwill Spalding) เจ้าของบริษัท A.G Spalding and Brothers หรือ Spalding จนทำให้ได้ลูกบาสเก็ตบอลลูกแรกของโลกขึ้นมา

เขาจึงตัดสินใจเดินทางไปหากับ อัลเบิร์ต กู๊ดวิล สปาลดิ้ง (Albert Goodwill Spalding) เพื่อที่จะปรึกษาเรื่องของลูกบอลที่จะมาใช้ในกีฬาวอลเลย์บอลบ้าง ซึ่งก็ต้องบอกว่าเขามาถูกทางเลยทีเดียว

หลังจากได้พูดคุยกัน สปาลดิ้ง (Spalding) ก็ได้ตกลงที่จะทำการผลิตลูกวอลเลย์บอลแบบใหม่ขึ้นให้ โดยตัวลูกบอลถูกทำให้มีถึงสามชั้นด้วยกัน ด้านในสุดทำจากยาง ที่เป็นยางชนิดเดียวกันกับยางรถจักรยาน ส่วนชั้นที่สองนั้นเป็นผ้า และชั้นสุดท้ายคือส่วนที่ห่อหุ้มทั้งลูกทำจากหนัง ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์


1917 – เริ่มเล่นแบบซีเรียส ชนะ 2/3 เซ็ตๆละ 15 แต้ม

1917 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

เริ่มแรกของการเล่นวอลเลย์บอล กำหนดแต้มต่อหนึ่งเซ็ตอยู่ที่ 21 แต้มและได้มีการเปลี่ยนให้เป็น 15 แต้มในปี 1917 โดยการนับแต้มนั้นคือ ผู้ที่เป็นฝ่ายเสิร์ฟบอลและชนะจากการโต้เท่านั้นจึงจะได้แต้ม หากผู้ที่เป็นฝ่ายเสิร์ฟ เสิร์ฟเสียหรือทำบอลเสียจากการโต้ ก็จะไม่ถูกเพิ่มแต้มให้คู่ต่อสู้ด้วยเช่นกัน

พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการแข่งขันให้เป็น 2 ใน 3 เซ็ตด้วย (ก็คือได้ 2 เซ็ตก่อนก็ชนะเลย ถ้าเสมอ 1-1 เซ็ต ก็ตัดสินกันที่เซ็ตสุดท้าย)


1918 – และซีเรียสกว่าเมื่อให้เหลือทีมละ 6 คน

1918 1 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

จากที่ไม่มีการกำหนดผู้เล่นในสนามอย่างชัดเจน ในปีนี้ก็ได้มีการออกกฏมาว่าให้ผู้เล่นของแต่ละทีมมีได้เพียง 6 คนเท่านั้น ซึ่งการยืนตำแหน่งของผู้เล่นแต่ละคน จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 3 คน ก็คือ 3 คนสำหรับเกมรุก ที่ยืนอยู่แถวหน้า (เมื่อหันเข้าตาข่าย) และอีก 3 คนสำหรับเกมรับ จะยืนอยู่แถวหลัง

โดยจากภาพเราจะเห็นได้ว่า จะมีเส้นที่ห่างจากหน้าเน็ตออกมา 3 เมตร นั่นคือพื้นที่สำหรับเล่นเกมรุก ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้เล่นทั้ง 3 คนในแถวหน้าสามารถเล่นบอลหรือตบลูกที่ลอยอยู่เหนือเน็ตให้ข้ามฝั่งไปได้

แต่ 3 ผู้เล่นจากแถวหลังไม่สามารถขึ้นมาทำแบบนั้นในพื้นที่นี้ได้ หากจะขึ้นมาเล่นในพื้นที่นี้ ก็ทำได้เพียงแค่การเช็ตหรือส่งบอลต่อให้เพื่อนเพียงเท่านั้น ห้ามส่งบอลข้ามเน็ตเด็ดขาด หรือหากต้องการจะส่งบอลข้ามแดนหรือกระโดดตบ ก็ต้องห้ามทำการเหยียบเส้น 3 เมตรด้วยเช่นกัน เพราะอาจถูกปรับฟาวล์ได้

อีกทั้งยังมีการกำหนดให้ผู้เล่นทุกคนในการเล่นแต่ละรอบได้เสิร์ฟลูก จากบริเวณหัวมุมหลังเส้นสนามด้วย โดยผู้ที่อยู่ในตำแหน่งหมายเลข 1 จะเป็นผู้เสิร์ฟก่อน และหากว่าชนะในแต้มนั้นหมายเลข 1 จะยังคงได้เสิร์ฟต่อไป

แต่ถ้าหากทีมรับเป็นฝ่ายได้แต้ม และหมายเลข 1 ได้ทำการเสิร์ฟลูกไปแล้ว ผู้เล่นหมายเลข 2 ก็จะเป็นผู้เสิร์ฟคนต่อไป พร้อมทั้งวนตำแหน่งมาแทนที่ของหมายเลข 1 ซึ่งหากจะให้จำง่าย ๆ ก็คือ หากทีมของตนได้เล่นลูกเสิร์ฟ จะต้องหมุนตามเข็มนาฬิกาแทนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ จนถึงคราวของตัวเองได้เสิร์ฟอีกครั้ง


1920 – และซีเรียสไปอีกเมื่อให้เดาะบอลได้แค่ 3 ครั้ง

1920 1 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

มีการกำหนดให้มีการจำกัดจำนวนครั้งในการเล่นบอล จากเดิมที่สามารถเล่นกี่ครั้งก็ได้ ก่อนจะส่งบอลข้ามเน็ตไปแดนคู่ต่อสู้ ในปีนี้ได้กำหนดให้มีการเล่นได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ซึ่งรวมถึงการส่งบอลข้ามไปยังแดนคู่ต่อสู้ด้วย (ง่าย ๆ คือไม่เกิน 3 ครั้งบอลต้องข้ามเน็ตไปแล้วนั่นเอง ส่วนจะข้ามตั้งแต่ครั้งแรก หรือครั้งที่สอง ก็ย่อมทำได้เช่นกัน)

ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดกฏนี้ขึ้นมา ก็เนื่องจากว่า ในระหว่างการแข่งขันที่ฟิลิปปินส์ ได้มีสมาชิกของทีมได้ส่งบอลไปมาในทีมของตนเองถึงจำนวน 52 ครั้ง ก่อนจะส่งบอลข้ามเน็ตไปยังแดนคู่ต่อสู้ จึงทำให้หลายฝ่ายได้ออกความคิดเห็นตรงกันว่า ควรอย่างยิ่งที่จะกำหนดกฏนี้ขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการเล่นที่ทำให้เกมไม่สรุป


1924 – เปิดตัวกีฬาสาธิตในโอลิมปิกที่กรุงปารีส

1924 1 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

วอลเลย์บอล เป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ผู้คนนิยมชมชอบและเล่นกันอย่างมาก จึงถูกผลักดันให้เข้าสู่การแข่งขันกีฬานานาชาติโอลิมปิกอยู่หลายหน ซึ่งในที่สุดก็ถูกจับให้อยู่ในการแข่งขัน โอลิมปิกครั้งที่ 8 ปี 1924 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่นั่นก็ทำได้เพียงในฐานะกีฬาสาธิตเท่านั้น ยังไม่มีการแข่งขันอย่างถูกต้องและมอบเหรียญให้กับผู้ชนะ

ซึ่งเป็นเพราะว่า วอลเลย์บอล ในขณะนั้นยังมีกฏกติกาหลาย ๆ อย่างที่ยังไม่ชัดเจนนัก ซึ่งหากจัดให้มีการแข่งขันอย่างจริงจังขึ้นมา ก็อาจทำให้เกิดข้อครหาได้ และอาจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ความสนุกของกีฬาชนิดนี้หมดลงไป


1934 – และเพิ่มความโปร่งใสด้วย 4  ไลน์แมนประกบ 4  มุม

1934 1 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

จากเดิมที่มีเพียงผู้ตัดสินเพียงสองคนคือ ผู้ตัดสินที่ 1 จะทำหน้าที่ชี้ขาดอยู่บนเก้าอี้ตัดสิน และผู้ตัดสินที่ 2 อยู่ด้านล่างตรงข้ามกับผู้ตัดสินที่ 1 ทำให้ดูไม่เพียงพอในการตัดสินผลให้ออกมาอย่างถูกต้องและยุติธรรม เพราะด้วยขนาดของสนามวอลเลย์บอล ที่ถือว่าใหญ่พอสมควร จึงได้มีการเพิ่มผู้กำกับเส้นหรือที่เราเรียกกันว่า Line man หรือ Line judges เข้ามาอีกทั้งหมด 4 คน

โดยทั้ง 4 คนจะยืนอยู่บริเวณ 4 มุมของสนาม (ดูได้จากรูปภาพ) เพื่อทำการตัดสินผลในบริเวณที่ตนเองรับผิดชอบ ทั้งในเรื่องของบอลที่อาจลงหรือออกนอกสนาม รวมทั้งดูแลการเสิร์ฟของนักกีฬาด้วย และทุกคนจะมีธงเป็นของตัวเอง เพื่อใช้สำหรับในการโบกสบัดและส่งสัญญาณให้ทราบว่าผลการตัดสินนั้นเป็นอย่างไร


1947 – และเพิ่มความจริงจังด้วยกำเนิดสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ FIVB

1947 1 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

14 ประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (The Federation International De Volleyball : FIVB) ขึ้นในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้เลือกนายพอล ลิบอร์ด (Paul Libaud) เป็นประธานสหพันธ์คนแรก 

โดยมีประเทศที่ร่วมกันจัดตั้ง ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา (อเมริกาเหนือ) อุรุกวัย, บราซิล (อเมริกาใต้) เชคโกสโลวาเกีย, ยูโกสลาเวีย, เนเธอแลนด์, ฝรั่งเศส, เบลเยียม, อิตาลี โปแลนด์, โปรตุเกส, โรมาเนีย, ฮังการี (ยุโรป) และ อียิปต์ (แอฟริกา)


1964 – ในที่สุดก็ได้เป็นกีฬาโอลิมปิกตัวจริง ประเดิมครั้งแรกที่กรุงโตเกียว

1964 1 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

หลังจาก วอลเลย์บอล ถูกจัดให้อยู่ในหมวดกีฬาสาธิต (กีฬาที่มีการแข่งขันแต่ไม่มีการมอบเหรียญให้กับผู้ชนะ) เมื่อปี 1924 ก็ต้องใช้เวลาเกือบ 40 ปีเลยทีเดียว กว่าที่กีฬาวอลเลย์บอลทั้งประเภทชายและหญิงจะถูกจัดสู่เข้าแข่งขันใน โอลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปี 1964 เป็นครั้งแรก

โดยในเวลานั้นทีมวอลเลย์บอลประเภทชายที่ได้รับเหรียญทอง เป็นทีมจาก สหภาพโซเวียต ส่วนทีมวอลเลย์บอลประเภทหญิงนั้นเป็นทางด้าน เจ้าภาพญี่ปุ่น ที่คว้าเหรียญทองไปครอง


1998 – ห้ามลิเบอโร่ เสิร์ฟ-ตบ-บล็อค แลกกับการใส่ชุดแปลกและเปลี่ยนตัวไม่ต้องแจ้ง

1998 1 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

ได้มีการเพิ่มชื่อของตัวผู้เล่นพิเศษขึ้นมาอีก 1 ตำแหน่ง นั่นก็คือ ลิเบอโร่ (Libero) หรือ ตัวรับอิสระ เพื่อเป็นการช่วยให้เกมการแข่งขันวอลเลย์บอลมีการสนุกและทำให้เกมรับมีความเหนียวแน่นมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยผู้เล่นในตำแหน่งนี้มีความสามารถและพิเศษอย่างไรนั้น เราจะอธิบายให้ฟังคร่าว ๆ

ลิเบอโร่ หรือ ตัวรับอิสระ เป็นผู้เล่นพิเศษ 1 ใน 12 คน โดยจะสวมชุดแข่งขันพิเศษที่มีสีต่างจากเพื่อนร่วมทีม ทำหน้าที่เป็นตัวรับอิสระ เหมือนกับผู้เล่นแดนหลังคนหนึ่ง สามารถเปลี่ยนตัวลงแทนผู้เล่นแดนหลังคนใดก็ได้แบบไม่นับจำนวนครั้งแต่ต้องรอให้จบแต้มที่เล่นอยู่เสียก่อน ถึงจะเปลี่ยนตัวได้ โดยไม่ต้องยกป้ายขอเปลี่ยนตัว สามารถเดินเปลี่ยนตัวได้เลย

ลิเบอโร่ ยังมีกฎข้อห้ามพิเศษอีก คือ ไม่สามารถเป็นหัวหน้าทีมได้ ห้าม บล็อก ตบ หรือเซต ในแดนหน้า แต่สามารถเซตจากแดนหลังได้ เพื่อให้เพื่อนทำเกมรุกต่อได้ ซึ่งตำแหน่งนี้จึงต้องอาศัยผู้เล่นที่มีความคล่องตัวสูง และมีไหวพริบที่ดี เพราะเป็นส่วนสำคัญในการตั้งรับของทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ


1999 – นับแบบใหม่เป็นแต้มไหลละกัน (Rally point) อย่าให้คนดูคอยนาน

1999 1 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

ได้เปลี่ยนกติกาการนับคะแนนใหม่ จากเดิมที่ฝ่ายเสิร์ฟลูกและชนะจากการโต้เท่านั้นจึงจะได้แต้ม มาเป็นการนับคะแนนแบบ Rally point  หรือนับทุกลูกที่ลูกตาย และเล่นกันทั้งหมด 25 แต้มต่อเซ็ตจากเดิมที่เล่น 15 แต้ม

อธิบายเพิ่มเติมเรื่องของ Rally point สักนิดนึง หากพูดคุยกันตามประสาบ้านเราคงจะคุ้นเคยกับคำว่า แต้มไหล เสียมากกว่า ฉะนั้นไม่ต้องสับสนไปนะจ๊ะ มันคืออันเดียวกันนั่นแหละ

อีกทั้งยังมีการปรับจำนวนเซ็ต ที่จากเดิมเล่นกันแบบ 2 ใน 3 เซ็ต ได้เปลี่ยนใหม่ให้เป็น 3 ใน 5 เซ็ตแทน โดยหากใครที่ได้ 3 เซ็ตก่อนจะเป็นฝ่ายชนะทันที แต่ถ้าผลออกเสมอ 2-2 จะต้องเล่นกันเซ็ตที่ 5 ซึ่งเป็นเซ็ตตัดสินจะเล่นกับเพียง 15 แต้ม หากแต้มเท่ากันจะต้องห่าง 2 แต้มจึงจะได้ผู้ชนะในเกมนั้น

จะแตกต่างจากของเดิมที่เซ็ตที่ 3 เป็นตัดสิน แต่จะเล่นกันเพียง 17 แต้มเท่านั้น ใครถึงก่อนก็จะเป็นฝ่ายชนะไปเลยไม่จำเป็นต้องห่าง 2 แต้ม


all new 1 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล


ต้นกำเนิดวอลเลย์บอล – เกาหลีใต้

เกาหลี new 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

เกาหลี เองก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่กีฬา วอลเลย์บอล เข้าถึงเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะว่า พวกเขาเคยตกเป็นเมืองขึ้นของ ประเทศมหาอำนาจอย่าง จีน รวมถึง ญี่ปุ่น ก่อนที่จะถูกแบ่งออกเป็น เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2

ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไรมากนัก หากคนในประเทศ เกาหลีใตั จะให้ความสนใจในกีฬา วอลเลย์บอล เพราะว่ากีฬาชนิดนี้เข้ามาสู่แถบเอเชียอย่าง จีน และ ญี่ปุ่น นับตั้งแต่ปี 1908 แล้ว

โดยพวกเขาเองก็ถือว่าเป็นหนึ่งในแนวหน้าของเอเชียคู่กับ ญี่ปุ่น อยู่เช่นกัน เพราะไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา เอเชียนเกมส์ 1962 ที่อินโดนีเซีย พวกเข้าก็ได้เข้าชิงกับ ญี่ปุ่น และคว้าเหรียญเงินมาได้

หรือจะเป็นการร่วมแข่งขัน โอลิมปิก 1964 ที่ญี่ปุ่น (ที่เพิ่งบรรจุวอลเลย์บอลเป็นกีฬาหลัก) พวกเขาก็ทำได้ดีไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ เลย แถมผลงานในปัจจุบัน ก็ต้องบอกว่าเป็นแนวหน้าของเอเชียและระดับโลกเลยทีเดียว 


ต้นกำเนิดวอลเลย์บอล – ไทย

ไทย new 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

กีฬาวอลเลย์บอล เข้ามาสู่ ประเทศไทย นับตั้งแต่ก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสันนิษฐานกันได้ว่า ผลพวงจากการที่ ญี่ปุ่น เองได้รับอิทธิพลของกีฬาชนิดนี้มา ประกอบกับระหว่างช่วงสงครามโลก ไทย ก็ได้สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือ ญี่ปุ่น อย่างเต็มที่

อาจเป็นไปได้ว่า ช่วงเวลานั้น ไทย และ ญี่ปุ่น อาจได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมีการเล่น กีฬาวอลเลย์บอล อยู่ในนั้นด้วย จึงทำให้ ไทย ซึมซับและรู้จักกีฬาชนิดนี้กันมาแต่ช่วงปี 1920

จนกระทั่งช่วงปี 1934 กรมพลศึกษา ที่มีการบรรจุให้มีการเรียนและสอนวิชา วอลเลย์บอล ให้กับนักเรียนหญิงและชาย เนื่องจากว่ามีผู้ให้ความสนใจในกีฬาชนิดนี้จำนวนมาก อีกทั้งยังเริ่มมีการจัดการแข่งขันโดย กรมพลศึกษา ด้วย

ต่อมาในช่วงปี 1957 ก็ได้เกิดการจัดตั้ง สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ขึ้นมา หลังจากนั้นได้ไม่นานก็มีการคัดเอาตัวแทน ทีมวอลเลย์บอลทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ เป็นครั้งแรก

หลังจากนั้นมา วอลเลย์บอล ในประเทศไทย ก็เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการสนับสนุนของภาครัฐ รวมถึงจากภาคเอกชนก็ด้วย ในการจัดตั้งลีกวอลเลย์บอลขึ้นมาชื่อว่า วอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก ซึ่งถือว่านี่เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ ลีกนักตบลูกหนังไทย แข็งแกร่งและมีทรัพยากรที่ดีอย่างมาก

จนปัจจุบันนี้ วอลเลย์หญิงทีมชาติไทย สามารถขึ้นไปรั้งอยู่อันดับ 4 ของเอเชียและอยู่อันดับ 12 ของโลก ได้อย่างภาคภูมิใจ


ต้นกำเนิดวอลเลย์บอล – เวียดนาม

เวียดนาม new 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

เวียดนาม รับกีฬาชนิดนี้มาจากการที่พวกเขาต้องตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของทั้ง ญี่ปุ่น และ ฝรั่งเศส ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาได้รู้จักกับกีฬาที่ชื่อว่า วอลเลย์บอล มาอย่างยาวนานเลยทีเดียว นับตั้งแต่ช่วงปี 1940

และแม้ว่าพวกเขาจะรับและรู้จัก วอลเลย์บอล มาเป็นเวลานาน แต่นั่นก็ไม่ได้ช่วยให้ เวียดนาม เก่งกาจและพัฒนากีฬานี้มากสักเท่าไหร่นัก ซึ่งนั่นเป็นเพราะว่าส่วนหนึ่งมาจากปัญหาภายในประเทศ (สงครามเวียดนาม) 

ทำให้ไม่อาจค้นคว้าหา นักวอลเลย์บอล ที่ดีและมีฝีมือได้ จึงใช้เวลานานพอสมควรกว่าที่ เวียดนาม จะได้เข้าร่วมการแข่งขันในรายการต่าง ๆ 

โดยรายการแรกที่พวกเขาได้เข้าร่วมการแข่งขัน ก็คือ ชิงแชมป์เอเชีย ที่จัดขึ้นที่ประเทศไทย ในปี 1991  อีกทั้งก็เพิ่งมีการจัดตั้ง วอลเลย์บอลเวียดนามลีก ขึ้นมาเมื่อปี 2004 ด้วย

แต่ถ้าหากมองถึงผลงานของ เวียดนาม ในเวลานี้ ต้องบอกว่าพวกเขาเป็นอีกหนึ่งประเทศที่พัฒนาขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว หลังจากที่สามารถจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้จนมีลีกเป็นของตัวเอง ซึ่งตอนนี้พวกเขาอยู่อันดับ 7 ของเอเชียและอันดับ 45 ของโลก


ต้นกำเนิดวอลเลย์บอล – ฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ new 1024x1024 - กำเนิดวอลเลย์บอล

วอลเลย์บอล เป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬาที่เข้ามายังประเทศ ฟิลิปปินส์ เป็นอันดับต้น ๆ ของระแวกเอเชีย และก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ผู้คนในนิยมเล่นมากด้วย เนื่องจากพวกเขาต้องตกเป็นเมืองขึ้นทั้งของ สเปน ในช่วงยุค 1565-1821 รวมถึงยังอยู่ภายใต้อาณานิคมของ สหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่ช่วง 1898 เป็นต้นมา

ซึ่งช่วงนั้นมีเหล่าทหารมากมายที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ของประเทศนี้ ได้หาเวลาที่จะพักผ่อนหย่อนใจจากเวลางานด้วยการเล่น วอลเลย์บอล กีฬาที่ชาวบ้านอาจยังไม่รู้จักมากนัก เหล่าทหารจึงได้ชวนชาวบ้านมาร่วมเล่นกีฬาชนิดนี้ด้วยกัน

โดย การเล่นแบบเซ็ตแล้วตบลูก ถือเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะ การเซ็ตให้ลูกบอลลอยสูงขึ้นไปเหนือเน็ตและตบ จะทำให้ได้คะแนนได้ง่ายกว่าวิธีการเล่นแบบอื่น ๆ ในภาษาตากาล็อกของฟิลิปปินส์จะเรียกการตบว่า บอมบา Bomba และเรียกผู้ตบว่า บอมเบอริโน่ Bomberino

พวกเขาเข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการ หลังจากมีการก่อตั้งสมาคมวอลเลย์บอล ฟิลิปปินส์ ได้เพียง 1 ปี โดยเป็นการเข้าร่วมการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ ที่ อินโดนีเซีย เมื่อปี 1962 และคว้าอันดับ 4 ไป

แม้ว่า ฟิลิปปินส์ จะเป็นประเทศแรก ๆ ในแถบเอเชียที่ได้สัมผัสกับกีฬา วอลเลย์บอล แต่ภาพรวมในปัจจุบันของกีฬาชนิดนี้ พวกเขายังถือว่าพัฒนาไปไม่ไกลจากเดิมนัก หากเทียบกับเพื่อนบ้านหลาย ๆ ประเทศ นั่นเป็นเพราะส่วนหนึ่งการดูแลโดยองค์กรของรัฐฯ ที่เรามักได้ยินข่าวเรื่องการฉ้อโกง จนทำให้หลาย ๆ อย่างไม่พัฒนาและสู้กับประเทศอื่น ๆ ได้

โดยผลงานวอลเลย์บอลหญิง ฟิลิปปินส์ นั้นรั้งอันดับ 14 ของเอเชียและอันดับ 79 ของโลก เลยทีเดียว เรียกได้ว่าห่างไกลจากพี่ไทยของเราอยู่พอตัวเลยล่ะ…

ทางเข้า 188BET (ล่าสุด)

TagsFIVBLiberoLine judgesLine manRally pointกำเนิดวอลเลย์บอลนับทุกลูกที่ลูกตายนายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan)บอมบา Bombaบอมเบอริโน่ Bomberinoบิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอลประวัติวอลเลย์บอลฟิลิปปินส์มินตันเนตลิเบอโร่ลูกบาสเก็ตบอลลูกบาสเก็ตบอลลูกแรกวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลเวียดนามลีกวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีกศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead)สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติอัลเบิร์ต กู๊ดวิล สปอลดิ้ง (Albert Goodwill Spalding)เกาหลีเหนือเกาหลีใต้เจมส์ เนสมิธ (James Naismith)เปิดตัวกีฬาสาธิตในโอลิมปิกที่กรุงปารีสเล่นได้ไม่เกิน 3 ครั้งเวียดนามเอเชียนเกมส์แต้มไหลโอลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
Share: