เข้มข้นเข้าไปทุกขณะสำหรับการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติทวีปแอฟริกา หรือ แอฟริกัน คัพ ออฟ เนชั่นส์ ที่ปีนี้จัดขึ้นที่ประเทศไอวอรี่ โคสต์ โดยถึงตอนนี้เกมการแข่งขันผ่านรอบแบ่งกลุ่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็มักจะมีชาติม้ามืดที่สร้างเซอร์ไพร์สทำผลงานหักปากกาเซียนได้บ่อยครั้ง
ในขณะที่ชาติชั้นนำก็ยังตบเท้าเข้ารอบน็อกเอ๊าต์กันโดยพร้อมเพรียง โดยหนึ่งในนั้นคือ ทีมชาติโมร็อกโก อีกหนึ่งชาติยักษ์ใหญ่ในวงการลูกหนังกาฬทวีป จากแอฟริกาเหนือ
สิงโตแอตลาส มหาอำนาจตัวพ่อจากแอฟริกาเหนือ
เมื่อพูดถึงทัพ สิงโตแอตลาส แน่นอนว่าในปัจจุบันเต็มไปด้วยผู้เล่นฝีเท้าดีมากมายที่วาดลวดลายอยู่ในยุโรป ไม่ว่าจะเป็น ยาสซีน บูนู ผู้รักษาประตูจอมหนึบ ,อัคชราฟ ฮาคิมี วิงแบ็คของ ปารีส แซงต์-แชร์กแมง ,โซฟียาน อัมราบัต มิดฟิลด์ของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด รวมไปถึง ฮาคิม ซิเย็ค แนวรุกของ เชลซี ที่ถูกปล่อยยืมไปอยู่กับ กาลาตาซาราย
ซึ่งทั้งหมดนี้แจ้งเกิดอย่างเต็มตัวด้วยการคว้าอันดับ 4 ในศึกฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ และล่าสุด ในศึก แอฟริกัน คัพ ออฟ เนชั่นส์ ก็ผ่านเข้าสู่รอบน็อคเอาต์ได้สำเร็จในฐานะแชมป์กลุ่ม อย่างไรก็ตามก่อนที่พลพรรค สิงโตแอตลาส จะเต็มไปด้วยแข้งระดับซูเปอร์สตาร์ในปัจจุบัน จริงๆแล้วก่อนหน้านั้นราวๆ 30 ปี ประเทศโมร็อกโกรวมไปถึงนักฟุตบอลของพวกเขาแทบไม่มีใครรู้จัก
โมร็อกโกอันตราย มุสตา ฮัดจี สวัสดีพรีเมียร์ลีก
จนกระทั่งในช่วงยุค 90 เหล่าบรรดาแฟนบอล โดยเฉพาะในศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ เริ่มรู้จักประเทศโมร็อกโกมากขึ้นจากผู้เล่นที่หนึ่งคนที่มาจากทวีปแอฟริกาที่มีนามว่า “มุสตาฟา ฮัดจี” หรือเจ้าของฉายา พ่อมดแห่งโมร็อกกัน ย้ายมาวาดลวดลายกับ โคเวนทรี อีกหนึ่งทีมเล็กพริกขี้หนูแห่งลีกสูงสุดแดนผู้ดี ณ เวลานั้น
โดย ฮัดจี เริ่มเล่นฟุตบอลอาชีพในฝรั่งเศส น็องต์ซี่ หลังจากที่ครอบครัวอพยพมาจากบ้านเกิดด้วยวัย 10 ปี ก่อนตระเวนย้ายไปค้าแข้งทีมชั้นนำของประเทศต่างๆทั้ง สปอร์ติ้ง ลิสบอน ในโปรตุเกส รวมไปถึง เดปอร์ติโบ ลาคอรุนญ่า ในประเทศสเปน และมาสร้างขื่ออย่างเต็มตัวกับพลพรรค ช้างกระทืบโรง ในปี 1999
อันที่จริงแล้วเหล่าประเทศแถบแอฟริกาเหนือ มักจะผลิตเพลย์เมกเกอร์ที่ยอดเยี่ยมมาประดับวงการแบบไม่ขาดสายมาโดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่หากจะพูดถึงแข้งทรงอิทธิพลในศึก ฟุตบอลโลก ที่มาจากแอฟริกาเหนือ ก็คงไม่มีใครที่ทำได้เหมือนกับที่ ฮัดจี ทำให้กับ ทีมชาติโมร็อกโก ในศึก ฟร้องซ์ 98
ร่ายมนต์จนกลายเป็นขวัญใจแฟนบอล ช้างกระทืบโรง
โดย ฮัดจี ได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมของทวีปแอฟริกาประจำปีนั้นไปครอง และยังเป็นชาวโมร็อกโกเพียงคนเดียวที่อยู่ในรายชื่อนับตั้งแต่รางวัลนี้ถูกนำเข้ามาภายใต้การอุปถัมภ์ของ CAF องค์กรปกครองฟุตบอลแอฟริกันในปี 1992 ซึ่ง เวที เวิลด์คัพ ครั้งนั้น ทำให้ มุสตาฟา ฮัดจี ได้ย้ายไปผจญความท้าทายในลีกที่ว่ากันว่าดีที่สุดในโลกอย่างพรีเมียร์ลีก กับ โคเวนทรี ในปี 1999 ด้วยราคา 4 ล้านปอนด์
ฮัดจี ถือเป็นแข้งจอมขยัน วิ่งพล่านไปทั่วสนาม ในนิยาม จอมทัพกึ่งปีกในคาถาของ กอร์ดอน สตรัค คัน การแย่งบอลเท้าของ พ่อมดโมร็อกกัน เป็นอะไรที่ยากมากๆ เพราะขนาดคนดูยังแทบเดาไม่ออกว่า ฮัดจี จะใช้เทคนิคแบบไหน ในการครอบครองบอล ผ่านบอล หรือแม้กระทั่งการยิงประตู
และเพียงแค่ 2 ซีซั่นเท่านั้น ฮัดจี เข้าไปนั่งในหัวใจของเหล่าแฟนๆ สกายบลูส์ อย่างรวดเร็ว และกลายของรักของหวงของแฟนๆ โคเวนทรี ประหนึ่งกับที่เหล่า เดอะ ค็อป หวงแหน โมฮาเหม็ด ซาลาห์ ในตอนนี้ยังไง อย่างงั้น ฮัดจี เล่นให้ โคเวนทรี ในพรีเมียร์ลีกไปแค่ 2 ฤดูกาล ตะบันไป 12 ประตูจาก 62 นัด แต่ก็เพียงพอที่จะกลายเป็นตำนานและอยู่ในความทรงจำของสาวก ช้างกระทืบโรง และอาจรวมไปถึงแฟนบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ยุค 90 ด้วยก็ได้
ผู้บุกเบิกแข้งโมร็อกกันในศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ
หลังจากกลายเป็นตัวพ่อของ โคเวนทรี ได้ 2 ซีซั่น ฮัดจี ก็ย้ายไปอยู่กับ แอสตัน วิลล่า ในปี 2001 และอยู่วาดลวดลายในถิ่น วิลล่า ปาร์ค 4 ปี แต่ก็ฟอร์ไม่ได้เปรี้ยงปร้างเหมือนกับตอนอยู่กับ โคเวนทรี โดย ฮัดจี ลงสนามในพรีเมียร์ลีกไป 35 นัด ยิง 2 ประตู ในสีเสื้อ สิงห์ผงาด
“ผมชอบที่อังกฤษไม่มีการเลือกปฏิบัติ ผมรู้สึกเหมือนอยู่บ้านจริงๆ แต่ในต่างประเทศ บางครั้งผมก็รู้สึกว่าตัวเองแตกต่างจากคนอื่นๆ เมื่อประมาณ 20 ถึง 30 ปีที่แล้วมันเป็นเรื่องยาก ผมโตในฝรั่งเศส และทุกๆ วันผมตื่นขึ้นมา ผมรู้สึกแตกต่าง”
“บางครั้งแม้ว่าคุณจะเล่นได้ดีให้กับสโมสรของคุณ แฟนๆ ก็จะมองคุณเพราะคุณมาจากประเทศอื่น หรือศาสนาของคุณแตกต่างออกไป ในอังกฤษ ผมรู้สึกถึงความรัก ผมรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว”
ฮัดจี ได้รับเลือกให้เป็นผู้เล่นแอฟริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอันดับที่ 50 ตลอดกาลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านฟุตบอลแอฟริกัน เอ็ด โดฟ ที่ประกาศออกมาเมื่อปี 2013
รอยด่างพร้อยในชีวิตการเป็นกุนซือของ มุสตาฟา ฮัดจี
หลังจากประกาศแขวนสตั๊ดในปี 2010 ฮัดจี ได้รับเลือกให้เป็นทูตสำหรับฟุตบอลโลก 2010 โดย FIFA เพื่อเป็นตัวแทนของแอฟริกา เขายังมีส่วนร่วมในการเป็นหุ้นส่วนกับแผนการลงทุนในโมร็อกโก ซึ่งเป็นการมอบโอกาสให้กับคนในท้องถิ่นเพื่อช่วยขจัดความยากจนออกจากบ้านเกิดของเขา ก่อนที่จะเริ่มฝึกวิทยายุทธ์ด้านกุนซือด้วยการเป็นผู้ช่วยโค้ชให้กับ อุม ซาลาล เอสซี ในกาตาร์ และในที่สุดก็เข้ารับตำแหน่งผู้ช่วยผู้ฝึกทีมชาติโมร็อกโกชุดใหญ่ แบบก้าวกระโดด ในอีก 4 ปีต่อมา
ซึ่ง ณ เวลานั้น สิงโตแอตลาส มี เอซซากี บาดู เป็นผู้จัดการทีม นอกจากนี้ ฮัดจี ดำรงตำแหน่งผู้สนับสนุนองค์กรการกุศล Show Racism The Red Card เขาคงจะเป็นทูตสำหรับฟุตบอลโลก 2026 โดยเป็นตัวแทนประเทศของเขาหากโมร็อกโกได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ
“ฟุตบอลคือชีวิตของผม และผมก็เป็นทูตของโมร็อกโกตลอดไป ตอนที่ผมเป็นนักเตะในอังกฤษ มีคนจากประเทศของผมไม่มากนัก ดังนั้นผมจึงต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีที่สุดของคนโมร็อกโก”
“ตอนนี้ในฐานะโค้ช ผมพยายามผลักดันให้นักเตะเป็นตัวอย่างให้กับเด็กๆ และคนทั้งประเทศ ผมสนับสนุนให้ผู้เล่นทีมชาติทุกคนคิดบวกและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีอยู่เสมอ”
อย่างไรก็ตาม ก่อนศึกฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ ฮัดจี ก็ถูกปลดออกจากตำแหน่ง หลังร่วมงานกับ 5 กุนซือทีมชาติโมร็อกโก และในเวลาต่อมา ฮัดจี ก็ถูกสมาพันธ์ฟุตบอลแอฟริกัน สั่งพักงาน เนื่องจากปลอมใบอนุญาตการฝึกสอนของเขา
สนับสนุนโดย 188BET
เว็บเดิมพันฟุตบอลจากอังกฤษ
เปิดให้บริการในไทยมานานกว่า 10 ปี การันตีความมั่นคงด้วยการเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการให้กับทีมฟุตบอลชั้นนำอย่าง ลิเวอร์พูล และ บาเยิร์น มิวนิค