กีฬาฟุตบอล

ย้อนรอยตำนานโกลเด้นโกล กฏประตูชัยที่หายไปพร้อมกาลเวลา

1 7 67 - ย้อนรอยตำนานโกลเด้นโกล กฏประตูชัยที่หายไปพร้อมกาลเวลา

หากจะเอ่ยถึงวิวัฒนาการฟุตบอลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีหลากหลายเรื่องราวที่เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อยๆ ไล่ตั้งแต่การพัฒนาความสามารถของผู้เล่น ในแง่ของรายบุคคล ไม่ว่าจะด้วยวิทยาศาสตร์การกีฬาหรือเทคโนโลยีต่างๆ รวมไปถึงการนำนวัตกรรมใหม่มาใช้ในเกมลูกหนัง ทั้งเรื่องของการศึกษาคู่แข่ง การพัฒนาและยกระดับ ซึ่งนอกจากเรื่องของการพัฒนาทีมแล้ว ในแง่ของกฏ กติกา การแข่งขัน ก็มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาเช่นเดียวกัน

โดยหากเราพูดถึงศึกฟุตบอล ยูโร หรือฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปในอดีตที่ผ่านมา เคยมีการนำ กฏประตูทอง หรือ โกลเด้นโกล มาใช้ ก่อนที่จะถูกยกเลิกไปในเวลาต่อมา โดยกฏที่ว่าไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะทีมไหนก็ตามที่ยิงประตูได้ในช่วงต่อเวลา ก็จะกลายเป็นผู้ชนะทันที ซึ่งกฏนี้เคยสร้างความระทึกใจให้กับเหล่าแฟนบอลหรือกลุ่มผีพนันมาแล้วนักต่อนัก

ย้อนรอย โกลเด้นโกล ในความทรงจำ

Picture121212211212121 - ย้อนรอยตำนานโกลเด้นโกล กฏประตูชัยที่หายไปพร้อมกาลเวลา

อย่างไรก็ตามหากจะเอ่ยถึง โกลเด้นโกล ที่น่าจดจำและเป็นที่พูดถึงมากที่สุด ก็น่าจะหนีไม่พ้นประตู โกลเด้นโกลของ โอลิเวอร์ เบียร์โฮฟฟ์ กองหน้าจ้าวเวหาทีมชาติเยอรมัน ที่ซัดประตูชัยใส่ ทีมชาติสาธารณรัฐเช็ก พร้อมกับผงาดคว้าแชมป์โลก ยูโร 96 ไปครองถึงดินแดนคู่อริตลอดกาลอย่าง อังกฤษ ที่รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในปีนั้น

ทั้งนี้ ที่มาของกฏ โกลเด้นโกล ริเริ่มมาจากแนวคิดที่ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า พยายามหาแนวทางและวิธีที่จะทำให้ฟุตบอลไม่น่าเบื่อเกินไป โดยเฉพาะในช่วงท้ายเกมหรือช่วงต่อเวลา ที่เหล่าบรรดาผู้เล่นอ่อนแรงกันไปแล้ว ก่อนจะได้กฏใหม่ออกมา ณ เวลานั้น นั่นก็คือกฏประตูทอง หรือ ซัดเดนเดธ หรือที่รู้กันดีในชื่อ โกลเด้นโกล นั่นเอง กฏนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน โดยหากเกมเสมอกันในเวลา 90 นาที ก็จะตัดสินด้วยการต่อเวลาพิเศษออกไป 30 นาที และภายใน 30 นาทีนั้น ทีมไหนยิงประตูได้ก่อน ทีมนั้นจะกลายเป็นผู้ชนะทันที โดยไม่ต้องรอให้ครบ 90 นาที

สำหรับ โกลเด้นโกล จริงๆแล้ว เคยผ่านการทดลองใช้มาแล้วในกีฬาอเมริกันฟุตบอล ก่อนจะแพร่หลายมายังกีฬาฟุตบอล โดยในเกมฟุตบอลเคยมีการใช้กฏ โกลเด้นโกล มาแล้ว แต่เป็นเพียงรายการท้องถิ่น อย่าง ยูดาน คัพ ฟุตบอลถ้วยของประเทศอังกฤษ แต่ก็ไม่รับการยอมรับอย่างแพร่หลายเท่าที่ควร

จุดเริ่มต้นกฏประตูทองคำ โกลเด้นโกล

image 2 - ย้อนรอยตำนานโกลเด้นโกล กฏประตูชัยที่หายไปพร้อมกาลเวลา

จนกระทั่งปี 1993 สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า มีมติริเริ่มนำกฏ โกลเด้นโกล มาใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกในรายการ ฟุตบอลเยาวชนโลก 1993 ที่ออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม โกลเด้นโกล กลับไม่ค่อยได้รับการจดจำและได้รับการยอมรับมากนัก เพราะตลอดรายการแข่งขันฟุตบอลเยาวชน ในปี 1993 มีประตู โกลเด้นโกล เพียงลูกเดียวเท่านั้น โดยเป็นเกมที่ ทีมชาติออสเตรเลีย เอาชนะ อุรุกวัย ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย

หลังจากประเดิมใช้ครั้งแรกในศึกเยาวชนโลก 1993 โกลเด้นโกล ก็ถูกนำไปใช้มากขึ้นในทัวร์นาเมนต์ต่างๆ เช่นเดียวกับ เช่นเดียวกับที่อังกฤษ มันถูกนำไปใช้ในศึก EFL โทรฟี ในปัจจุบัน โดย แอนดรูว์ คูเปอร์ โฆษกของ ฟีฟ่า ณ เวลานั้น ได้กล่าวถึงที่มาและแนวคิดในการนำกฏ โกลเด้นโกล มาใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกว่า

“เบื้องหลังไอเดียของโกลเด้นโกล คือเราต้องการให้เกิดทัศนคติในการเล่นเกมรุกมากขึ้น ให้ทีมมุ่งไปข้างหน้า เพราะพวกเขารู้ว่า แค่ประตูเดียวก็จะเป็นผู้ชนะในเกมดังกล่าวทันที”

โกลเด้นโกล ที่เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้งในโลกของฟุตบอล

หากย้อนอดีตกลับไปมีประตูหลายประตูที่เกิดขึ้นเวอร์ชั่นโกลเด้นโกล ไม่ว่าจะเป็นประตูของ ดาวิดส์ เทรเซเกต์ ของทีมชาติฝรั่งเศส ที่ทำให้พวกเขาเอาชนะ อิตาลี ในช่วงโกลเด้นโกล และคว้าแชมป์ ยูโร 2000 ไปครองอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ยังมีประตูของ มาซายูกิ โอกาโนะ ตัวรุกทีมชาติญี่ปุ่น ที่ซัดประตูชัยในช่วงต่อเวลาพิเศษ ในเกมเพลย์ออฟที่มาเลเซีย เมื่อปี 1997 พร้อมกับสร้างประวัติศาสตร์พาทัพ ซามูไรบลูส์ ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย ฟุตบอลโลก ฟร้องซ์ 98 ที่ประเทศฝรั่งเศสได้เป็นครั้งแรก

โกลเด้นโกล ถูกนำมาใช้ในศึกยูโร 1996 ที่อังกฤษเป็นเจ้าภาพ และกลายเป็นเครื่องตัดสินแชมป์ จากจังหวะที่ โอลิเวอร์ เบียร์ฮอฟฟ์ กองหน้า อินทรีเหล็ก ใช้ตัวพักบอลก่อนกลับตัวยิงตามสัญชาตญาณ บอลเจ้ากรรมดันไปแฉลบกองหลังสาธารณะรัฐเช็ก เข้าประตู และเป็นประตูชัยให้ เยอรมัน คว้าแชมป์ยูโร สมัยที่ 3 มาครอง ท่ามกลางคราบน้ำตาของทีมม้ามืดอย่าง สาธารณรัฐเช็ก ณ เวลานั้น

หลังจบศึก ยูโร 96 กฏประตูทองหรือ โกลเด้นโกล กลายเป็นที่รู้จักและกลายเป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง และเป็นสีสันในฟุตบอลแบบน็อคเอาท์หลายรายการ รวมไปถึงเกมระดับสโมสร ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ กาลาตาซาราย พลิกเอาชนะ เรอัล มาดริด ใน ยูฟ่า ซูเปอร์ คัพ เมื่อปี 2000 หรือช่วยให้ ลิเวอร์พูล คว้าชัยเหนือ อลาเบส ในนัดชิงชนะเลิศ ยูฟ่า คัพ ปี 2001ในขณะที่ศึกฟุตบอลโลก 1998 ก็ยังคงใช้กฏโกลเด้นโกลในรอบน็อกเอ๊าต์

ทัพ ตราไก่ ฝรั่งเศส ชาติที่ถูกโฉลกกับ โกลเด้นโกล มากที่สุด

image 3 - ย้อนรอยตำนานโกลเด้นโกล กฏประตูชัยที่หายไปพร้อมกาลเวลา

สำหรับชาติที่น่าจะถูกโฉลกกับกฏนี้มากที่สุดก็เห็นจะเป็นทัพ ตราไก่ ทีมชาติฝรั่งเศส เพราะพวกเขาใช้อิทธิฤทธิ์ของ ประตูทอง เอาชนะ ปารากวัย ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย โดยผู้ที่ยิงประตู โกลเด้นโกล เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลกก็คือ โลร็องต์ บล็องก์ ปราการหลังทีมชาติฝรั่งเศส ซึ่งหลังจากนั้นทัพ ตราไก่ ก็เดินหน้าไปสู่รอบชิงชนะเลิศ ก่อนจะกลายเป็นแชมป์โลกด้วยการไล่ถลุงบราซิล 3-0 พร้อมกับสานฝันการเป็นแชมป์โลกได้สำเร็จ

2 ปีต่อมาทัพ ตราไก่ ยังคงใช้ประโยชน์จาก โกลเด้นโกล โดยเฉพาะรอบรองชนะเลิศที่ ซีเนดิน ซีดาน ซัดจุดโทษประตูชัยใส่ โปรตุเกส ในช่วงต่อเวลาพิเศษ รวมไปถึงเกมนัดชิงชนะเลิศที่ ดาวิด เทรเซเกต์ ซัดประตูโกลเด้นโกลใส่ อิตาลี ที่ทำให้พวกเขากลายเป็นทีมแรกที่คว้าแชมป์โลก แล้วสามารถคว้าแชมป์ยุโรปต่อได้

ในขณะที่ศึกฟุตบอลโลก 2002 ที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพ ก็มีประตู โกลเด้นโกล ของ อาร์น จุง วานที่ช่วยให้ เกาหลีใต้ เฉือนเอาชนะ อิตาลี แบบช็อกโลก อย่างไรก็ดี ทัวร์นาเมนต์ดังกล่าวกลับเป็นทัวร์นาเมนต์สุดท้ายที่โลกได้เห็นกฎนี้ เพราะแม้ว่าแนวคิดของ ฟีฟ่า จะพยายามกระตุ้นให้แต่ละทีมเปิดเกมบุกมากขึ้น แต่ในทางกลับกันมันกลับมีความเสี่ยงมากขึ้น

เพราะหากเสียประตูก็หมดโอกาสแก้ตัวทันที นั่นจึงทำให้หลายเกมเต็มไปด้วยความน่าเบื่อ เพราะหลายทีมโดยเฉพาะทีมที่เป็นรองพยายามเล่นอย่างรัดกุมและปลอดภัย เพื่อหวังดึงผลเสมอและลุ้นไปยิงจุดโทษแทน ซึ่งจากสถิติระบุว่า นับตั้งแต่ยูโร 1996 มีเกมที่ต้องตัดสินด้วยการดวลจุดโทษถึง 5 ครั้งจาก 8 ครั้ง ขณะที่ฟุตบอลโลก ต้องตัดสินด้วยการดวลจุดโทษ 5 ครั้งจากทั้งหมด 9 ครั้ง

อย่างไรก็ตามแม้กฏ โกลเด้นโกล อาจจะไม่เวิร์คจะไม่เวิร์ค แต่ ฟีฟ่า ก็ยังอุตสาห์นำไปพัฒนาต่อด้วยการนำ โกลเด้นโกล มาดัดแปลงใหม่ในชื่อ ซิลเวอร์โกล โดยหวังว่ากฎใหม่นี้จะช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของโกลเด้นโกล แต่ยังคงเพิ่มความสนุกในเกมการแข่งขัน ซึ่งยูฟ่าอธิบาย  “ภายใต้ระบบใหม่ ถ้าเกมเสมอกันใน 90 นาที ใน 15 นาทีแรกของช่วงต่อเวลาพิเศษ หากทีมไหนยิงประตูออกนำไปจนจบ 15 นาทีแรก ทีมนั้นจะเป็นผู้ชนะของการแข่งขัน

จาก โกลเด้นโกล สู่ ซิลเวอร์โกล แต่สุดท้ายหายสาปสูญ

image 4 - ย้อนรอยตำนานโกลเด้นโกล กฏประตูชัยที่หายไปพร้อมกาลเวลา

อย่างไรก็ดี ซิลเวอร์โกล กลับถูกนำมาใช้งานได้ไม่นานก็ต้องถูกยุบลงไป โดย ซิลเวอร์โกล ถูกเริ่มใช้ในศึก ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก และ ยูฟ่า คัพ  ฤดูกาล 2002-03 และถูกนำมาใช้ในทัวร์นาเมนต์อย่างยูโร 2004และมันคือรายการสุดท้ายที่ได้เห็นการต่อเวลาพิเศษลักษณะนี้ เนื่องจากซิลเวอร์โกลเองก็ถูกโจมตีไม่ต่างจากโกลเด้นโกล ในฐานะกฎที่ไม่ยุติธรรมสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะกับทีมที่เป็นรอง โดยหลังศึกยูโร 2004 จบลง โกลเด้นโกล และซิลเวอร์โกล ก็ถูกถอดออกจากกฎในฟีฟ่า ก่อนที่มันจะค่อยๆเลือนหายไปตามกาลเวลา

นับตั้งแต่ฟุตบอลโลก 2006 เกมการแข่งขันก็กลับมาใช้การต่อเวลาพิเศษตามปกติ 30 นาที ที่ทำให้ โกลเด้นโกล และซิลเวอร์โกล เป็นเพียงหนึ่งในความทรงจำของโลกลูกหนัง แม้ว่าในช่วงปี 2010 จะมีกระแสเรียกร้องให้นำกฎนี้กลับมาใช้อีกครั้งก็ตามที

สนับสนุนโดย 188BET
เว็บเดิมพันฟุตบอลจากอังกฤษ

เปิดให้บริการในไทยมานานกว่า 10 ปี การันตีความมั่นคงด้วยการเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการให้กับทีมฟุตบอลชั้นนำอย่าง ลิเวอร์พูล และ บาเยิร์น มิวนิค

Share: